บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้ครูตรวจแผ่นชาตจากที่นำไปแก้แต่ละกลุ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว
วันนี้ครูตรวจแผ่นชาตจากที่นำไปแก้แต่ละกลุ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว
กลุ่มที่ 1
หน่วย ส้ม
หน่วยส้ม Orange
สายพันธุ์ → ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มจื๊ด ส้มจีน
สี่ → สีส้ม สีเขียว สีเหลือง สีเขียวเหลือง
รสชาติ → หวาน เปรี้ยว หวานอมเปรี้ยว ขม
รูปทรง → ทรงกลม
ผิว → เรียบ ขรุขระ เรียบและขรุขระ
ส่วนประกอบ → เปลือก เนื้อส้ม เมล็ด เส้นใย
การถนอม → ส้มแช่อิ่ม ส้มแห้ง 3 รส ส้มเชื่อม ส้มกวน
ประโยชน์ → ช่วยในการขับถ่าย มีวิตามิน ซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
ข้อควรระวัง → ระวังน้ำจากเปลือกส้มเข้าตา รับประทานมากทำให้ท้องเสีย
กลุ่มที่ 2 หน่วยไก่
หน่วย ไก่ Chicken
สายพันธุ์ → ไก่ฟ้า ไก่ ไก่บ้าน ไก่ป่า
ส่วนประกอบ → ปากปหลม ปีก 2 ปีก ตา 2 ตา หู 2 หู หาง ขา 2 ขา จมูก
สี → ดำ ขาว เขียว แดง
การดำรงชีวิต → อากาศ น้ำ
ที่อยู่ → ป่า ต้นไม้ สุ่ม
ยารักษาโรค → วัคซีนสำหรับไก่ฉีดยาป้องกัน
อาหาร → รำ หนอน ข้าวเปลือก
ประโยชน์ → ให้โปรตีน ประกอบหาร สร้างรายได้
กลุ่มที่ 3
หน่วยกล้วย
หน่วย กล้วย Banana
ชนิด → กล้วยหักมุข กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอม
สี → เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม เขียวอ่อน เขียวเข้ม
รูปทรง ยาว รี สั้น
ส่วนประกอบ → เปลือกกล้วย เนื้อกล้วย เมล็ดกล้วย ใยกล้วย
ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่
การแปรรูป →กล้วยอบ กล้วยฉาบ กล้วยตาก น้ำกล้วย กล้วยกวน ลูกอมกล้วย
ประโยชน์ → ต่อตนเองวิตามิน แร่ธาตุ แก้โรคกระเพาะ แก้ท้องผูก
↘เชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ สร้างิาชีพ
กลุ่มที่ 4 หน่วยน้ำ
หน่วยน้ำ Water
ประเภท → น้ำเค้ม น้ำจืด
ลักษณะ → เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของเเข็งและแก๊สได้ เปลี่ยนรูปร่างต่างภาชนะ
กลิ่น → มีกลิ่น ไม่มีกลิ่น
ประโยชน์ → อุปโภค สร้างรายได้ บริโภค
โทษ → น้ำท่วม น้ำเน่าเสีย สึนามิ พาหะนำโรค
การดูแลรักษา → ไม่ทิ้งสิ่่งปฏิกูลลงในน้ำ ควบคุมการเพิ่มปริมาณของวัชพืช
กลุ่มที่ 5 หน่วย ข้าว กลุ่มดิฉัน
หน่วยข้าว Rice
ประเภท → ข้าวเจ้า→ ข้าวหอมมะลิ ห้ามหอมนิล ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก
ข้าวไรซเบอรี่ ข้าวโอ๊ต
ข้าวเหนียว →ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวเนียวเขี้ยวงู
รูปร่าง → เรียวยาว
สี→ สีม่วงเข้ม สีดำ สีแดง สีขาว สีเหลืองเข็ม
พื้นผิว→ เรียบ
การดูแลรักษา→ไม่เก็บในที่ชื้น เก็บในภาชนะที่มิดชิด
ประโยชน์ →ทำอาหาร มีคาร์โบไฮเดรต บีสอง ป้องกันเหน็บชา ต่อต้อนอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน
สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับบุคลและประเทศ แปรรูป
โทษ→ กินข้าวเยอะทำให้อ้วน เคี้ยวข้าวไม่ย่อยทำให้ท้องอืด กินข้าวบูดทำให้ท้องเสีย
กลุ่มที่ 6 หน่วย นม
หน่วยนม Milk
ประเภท → พืช ถั่วเหลือง ข้าว ข้อโพด งาดำ
→สัตว์ แพะ วัว แกะ
สี → ขาว เหลืองครีม
กลิ่น →กล้วยสตอเบอรี่ ช็อคโกแลต
รสชาติ →จืด หวาน เปรี้ยว
การถนอม → การต้ม การแช่เย็น
ประโยชน์ →มีโปรตีน ไขมัน ทำให้สูง
โทษ → กินนมหมดอายุทำให้ท้องเสีย ดื่มนมทำให้ท้องอืด
ผลงานมายแมบของเพื่อนๆ หน่วยข้าวแต่ละคน
ใบนี้ของดิฉันเอง
เสร็จแล้วอาจารย์ก็สอนเนื้อหาและยกตัวอย่างและถามนักศึกษาเกี่ยวกับ เอลนีโญ และ ลานีญา
แต่ไม่มีใครรู้อาจารย์เลยบอกให้นักศึกษาไปศึกษาดูว่าคืออะไรเราจำเป็นต้องรู้
เอลนีโญ (El Niño) เป็นคำในภาษาสเปนแปลว่า บุตรพระคริสต์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทร มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เมื่อกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งเปรู ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ฝูงปลามีจำนวนลดลง ทำให้นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อย่างไรก็ตามเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคาบเวลาที่แน่นอน ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจกินเวลา 2 - 3 เดือนหรือนานกว่า เอลนีโญจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” เรียกอย่างสั้นว่า "ENSO" หมายถึงความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้
ลานีญา (La Niña) แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกดังภาพที่ 3 ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม
นำหน่วยของเรามาเขียนเป็นแผนการสอนและนำมาเชื่อมโยงกับสาระของวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกัน
สาระที่ 1
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3
สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4
แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5
พลังงาน
สาระที่ 6
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7
ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำศัพท์
ดาราศาสตร์ = Astronomy
การเปลี่ยนแปลง = Modification
พลังงาน = Energy
สิ่งแวดล้อม = Environment
เชื่อมโยง = Connect
การนำไปใช้
เราสามารถรู้และเข้าใจการเขียน Mapping มากขึ้นคือการเขียนจากซ้ายไปขวา วนตามเข็มนาฬิกา หัวข้อคือเริ่มจากหัวข้อหลักหัวข้อรองและข้อย่อยต่างๆ
การประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน เข้าห้องตรงเวลา ฟังครูและนำไปปรับใช้ได้ มีการจดบันทึกในการเรียนการสอน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามครูอยู่เสมอ มีความรับผิดชอบ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ อธิบายการเขียน มายแมบได้อย่างดี สามารถตอบปัญหานักศึกษาได้อย่างเข้าใจและมีกระบวนการวิธีการสอนใหม่ๆเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น